วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประพฤติธรรม นำโลกให้ร่มเย็น

                                               
             กลอนสอนใจ
การประพฤติ                 ตามธรรม                  คำพระสอน
ไม่เดือดร้อน                ถอนทุกข์                    ยามฉุกเฉิน
คนรักธรรม                 ธรรมรักษ์คน              ผลเจริญ
นั่ง,ยืน,เดิน นอน        นำโลกให้ร่มเย็น.
           ธรรม คือ   หน้าที่ที่เราควรทำนั่นแหละคือ ธรรมะ  การทำงานให้ถูกต้องตามหน้าที่คือ การปฏิบัติธรรม  อย่าเข้าใจผิด ๆ ว่า        การงานอยู่ที่บ้าน ธรรมะอยู่ที่วัด  ที่ใดมีหน้าที่การงานที่ถูกต้อง ที่นั่นแหละมีธรรมะในโบสถ์อาจจะไม่มีธรรมะ ในทุ่งนา       ในออฟฟิด อาจมีธรรมะอย่างมากมายก็ได้ธรรมะนั้นเป็น สภาพที่ทรงไว้สำหรับผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกต่ำไปในทางที่ชั่ว      ใครบ้างเล่าอยากตกไปในทางที่ชั่ว พระพุทธเจ้าตรัสว่า "จะเป็นคนเจริญหรือเป็นคนเสื่อมก็รู้ได้ง่าย          ผู้ชอบธรรมะ เป็นผู้เจริญ  ผู้ชังธรรมะ เป็นผู้เสื่อมธรรมะ คือ หน้าที่                             
              ผู้เจริญ คือ ผู้รักหน้าที่ ผู้เสื่อม คือ    ผู้ชังหน้าที่ นักเรียนที่เรียนเก่ง ก็เพราะเขารักหน้าที่ รักการเรียน  เขาจึงเจริญในเรื่องการเรียน       คนที่ทำงานเก่งก็เพราะเขารักการงาน  มีธรรมะของผู้นำ ของผู้ทำการงาน       การทำความดี เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของมนุษย์ ผู้ที่รักที่จะทำความดีจึงเป็นมนุษย์ที่ดี มั่งคั่ง พรั่งพร้อมไปด้วยความดี        ไม่ว่าเขาจะเป็นอะไร เขาต้องทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ขอให้สำนึกอยู่เสมอ ๆ ว่าการเกิดมาเป็นมนุษย์นั้น              เป็นของยาก ยากอย่างไร        ขอให้นึกเปรียบเทียบดู กับ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเถิดว่า มันมีจำนวนท่วมท้นกว่าจำนวนของ มนุษย์มากมายเพียงใด
พระพุทธเจ้าเกิดในโลกเพื่อประกาศสัจธรรม" เช่นคำว่า ธรรม หมายถึงกฏธรรมดา (
Law of Nature)
เช่นว่า ทุกข์ต้องเกิดมาจากสิ่งนั้น ความดับทุกข์มีได้เพราะสิ่งนั้นหรือว่า สิ่งทั้งปวงต้องเป็นอย่างนั้นๆ เป็นต้น.      หน้าที่ของเรา คือต้องทำตัวให้เข้ากันได้กับกฏนั้นบ้าง รู้จักนำเอากฏนั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์บ้าง
ธรรมเป็นสากลนิยม ปฏิบัติได้ไม่จำกัดกาล และตำแหน่งแห่งหน
                  การประพฤติธรรม คือ การประพฤติตนเองอยู่ในกรอบของความถูกต้องและความดี ทั้งปรับปรุงพฤติกรรมของตนเองให้ดีและมีความเที่ยงธรรม โดยไม่ลำเอียง เรียกว่า การประพฤติธรรม จัดเป็นมงคลชีวิต เพราะว่าการประพฤติธรรมนับเป็นการปรับปรุงให้พร้อม พร้อมที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม พร้อมที่จะอยู่ร่วมกันกับคู่ครองและครอบครัว เพื่อจะให้เกิดความสงบ ความร่มเย็นเป็นสุข จะได้ไม่นำความเดือดร้อนมาสู่ตนเองและผู้อื่น
  เว้นจากการฆ่า ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เล็กหรือสัตว์ใหญ่ มีคุณหรือไม่มีคุณหรือมีโทษก็แล้วแต่ไม่ควรฆ่าทั้งสิ้น รู้จักแก้ไขโดยชอบ 
  เว้นจากการลักทรัพย์ หมายถึง ไม่แสวงหารายได้โดยทุจริต รู้จักทำมาหากินในทางที่ถูกที่ควร  
 เว้นจากการประพฤติในกาม คือ ไม่ลุแก่อำนาจความกำหนัด มีจิตใจสูงไม่ใฝ่ต่ำ เพราะเคารพในสิทธิของผู้อื่น
 เว้นจากการพูดเท็จ คือ มีความสัตย์จริง กล้าเผชิญหน้าต่อความจริง กล้าพูดจริง ถือสัจจะเป็นชีวิต
ไม่พูดส่อเสียด คือ ไม่ยุแหย่ให้เขาแตกกัน ไม่แสวงหาความชอบด้วยการประจบสอพลอ
 เว้นจากการกล่าวคำหยาบ คือ รู้จักสำรวมวาจาของตน สำรวมในที่นี้หมายถึงไม่ก่อความระคายหูให้แก่ผู้อื่นด้วยคำพูด
 เว้นจากการพูดจาเพ้อเจ้อ ไร้สาระ ไร้แก่นสาร คือ ไม่พูดจาเหลวไหลพล่อยๆ จะไม่ยอมพูดอะไรพล่อยๆ เพราะว่ามีความรับผิดชอบในคำพูดของตนเองทุกคำ คนมีความรับผิดชอบในคำพูดของตัวเองทุกคำจะทำให้เกิดความสำรวม ไม่พูดพล่อยๆ ทำได้บอกว่าทำ ทำไม่ได้อย่ารับปาก
ไม่โลภอยากได้ของของเขา หมายถึง ไม่เพ่งเล็งที่จะเอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ว่าทางใดทั้งสิ้น โดยเฉพาะทางทุจริต เพราะมีความเคารพสิทธิของเขา
ไม่พยาบาทปองร้าย หมายถึง ไม่ผูกใจเจ็บไม่จองเวร เพราะว่าจะทำให้มีจิตใจเบิกบานแจ่มใสไม่ขุ่นมัว ไม่เกลือกกลั้วด้วยโทสจริต
 ไม่เห็นผิดจากคลองธรรม คือ ไม่คิดแย้งกับหลักธรรม เป็นสัมมาทิฏฐิบุคคล เห็นเหตุตรงกับผล รู้จักเหตุ รู้จักผลอยู่ตลอดเวลา
อานิสงส์ของการประพฤติธรรม มี ๑๐ ประการ คือ
๑) เป็นมหากุศล
๒) เป็นผู้ไม่ประมาท
๓) เป็นผู้รักษาสัจธรรม
๔) เป็นผู้ส่งเสริมศาสนาให้เจริญ
๕) เป็นสุขได้ทั้งปัจจุบันชาติและอนาคตชาติ
๖) ไม่ก่อเวรก่อภัยแก่ใครๆ
๗) เป็นผู้มีจิตใจเมตตาเป็นที่ตั้ง
๘) เป็นผู้มีปฏิปทาตามบัณฑิต (เดินทางตามบัณฑิต)
๙) สร้างความสงบสุขให้กับตนเองและผู้อื่น
๑๐) เป็นผู้เดินทางสู่ความเป็นมนุษย์ เทวดา และพระอรหันต์
    


   เพราะฉะนั้น    ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข และนำโลกให้ร่มเย็นได้   เพราะพระธรรมจะเป็นเครื่องป้องกันผู้ที่นำหลักคำสอนไปปฏิบัติย่อมไม่ตกต่ำหรือ ไม่ตกอยู่ในอำนาจของความชั่ว เพราะผลกรรม พระพุทธเจ้าทรงสอนในเรื่องของกรรม กรรมในที่นี้หมายถึงการกระทำ มนุษย์เรา จะดีหรือชั่วไม่ได้อยู่ที่ชาติกำเนิด แต่อยู่ที่การประพฤติปฏิบัติ
                     ผู้ที่ประพฤติธรรม ประพฤติตนเป็นคนดีมีศีลธรรม ก็สามารถนำโลกให้ร่มเย็นน่าอยู่ น่าอาศัย โลกไม่เดือดร้อน โลกไม่วุ่นวาย เพราะคนประพฤติธรรม มีศีลธรรมประจำใจ




วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554

คำคม คติธรรม

ยามรุ่งเรืองไม่ประมาท ยามตกยากต้องอดทน
 
อารมณ์โกรธเข้าประตูหน้า สติปัญญาก็โผออกประตูหลัง
 
กตัญญูเป็นการแสดงออกของจิตใจ อันสูงและประเสริฐ
คบหากันเพราะรูปโฉม ความงามร่วงโรย ความรักก็สลาย  ศัตรูที่ร้ายเหลือ ไม่เท่าเกลือเป็นหนอน คิดทำการใหญ่ อย่าสนใจเรื่องเล็กน้อยนกทำรังให้ดูไม้ ข้าเลือกนายให้ดูน้ำใจ กุศลกรรมที่ไม่มีอะไรใหญ่เท่ากับการให้ "อโหสิกรรม" ปลูกต้นไม้บำรุงราก ปลูกฝังคุณธรรมบำรุงจิตใจ
 
อาศัยโชควาสนา หรือจะสู้ความสามารถของตนได้ ระยะทางพิสูจน์กำลังม้า กาลเวลาพิสูจน์จิตใจคนกระจกไว้ดูหน้า ปัญญาไว้ดูใจ กลองจะดังต้องดี ศิษย์จะดีก็ต้องครู

ขี้จ่ายทนจน ขี้บ่นทนฟัง
ขี้โกงทนฉ้อ ขี้ขอทนอาย
จงเข้มงวดกับตนเอง แต่ให้ผ่อนปรนกับคนอื่น ศาสนาพูดไม่ได้ แต่เข้าถึงใจได้ลึกที่สุด

You get the best out of others when you give the best of yourself.คุณจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดของคนอื่น เมื่อคุณได้ให้สิ่งที่ดีที่สุดของคุณไปมีเพียงสิ่งเดียวในชีวิตที่จะสามารถพิชิตได้โดยไม่ต้องใช้ความพยายามมากมายคือความล้มเหลว

เธอจากไปไกล พร้อมกับหัวใจของฉัน
เหลือเพียงร่างกาย ที่ไร้หัวใจเท่านั้นในตอนนี้
ไม่รู้ว่าต้องรออีกกี่ลมหายใจที่ยังมี
อีกกี่เดือนกี่ปี . . . ที่เธอคนดีจะกลับมาพร้อมหัวใจ

 
 
ในความไกล ขอให้เธอเชื่อใจฉัน
ความผูกพันยังคงมั่น ไม่หวั่นไหว
ความเหงา – อ้างว้าง ขอให้เธอผ่านพ้นมันไป
อย่าให้ใครแทนที่คนไกล ที่มีหัวใจเพื่อรอพียงเธอ

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระคุณพ่อ


คุณอะไรไหนเล่าจะเท่าพ่อ  
 เป็นผู้ก่อกำเนิดเลิศคุณค่า
พระคุณท่านเหนือสิ่งใดในโลกา
สุดพรรณาหรือจะเทียบเปรียบสิ่งใด
พ่อ.....เลี้ยงลูกทุกคนให้เป็นสุข
พ่อ.....หวังปลูกอนาคตให้สดใส
พ่อ.....จะยากลำบากสักแค่ใด
พ่อ....หวังให้ลูกได้ดีเป็นศรีตน
ห่วง....ลูกเจ็บไข้ใครรักษา
ห่วง.....ลูกยาก่อนหลับคิดสับสน
หว่ง.....ลูกอดเวทนาเมื่อคราจน
ห่วง....ลูกตนยิ่งกว่าตัวของพ่อเอง
ลูก.....ยังว่ายไม่ถึงฝั่งพ่อยังทุกข์
ลูก.....ถึงฝั่งพ่อมีสุขชมลูกเก่ง
ลูก.....ได้ดีมีศรีแก่พ่อและตัวเอง
ลูก...พ่อเก่งพ่อมีสุขทุกคืนวัน

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

พรหมวิหารธรรม 4 (ธรรมทำให้มนุษย์เป็นเทวดา)

1. เมตตา มากด้วยรักและปรารถนาดีต่อสังคม
2. กรุณา  เมื่อเห็นคนอื่นทำดีก็อยากช่วยหนุนนำต่อเติมให้ผ่านด้วยดี
3. มุทิตา พลอยยินดีเมื่อคนดอื่นได้ดีมีความสุขโดยชอบ
4. อุเบกขา เมื่อตนเองหรือคนอื่นประสบเคราะห์กรรมก็หยั่งรู้ว่าเป็นผลของกรรมเราไม่โวยวายหรือไม่ทับถมซ้ำใคร


สังคหะวัตถุธรรม 4 ( ผู้ให้ย่อมชนะใจคน)
 1.ทาน การให้แบ่งปันสิ่งของการให้ธรรมเป็นการให้ (ชนะใจคนด้วยการให้)
 2. ปิยวาจา พูดดีคือ การพูดความจริงเพื่อประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน
 3. อัตถจริยา  ทำตนเพื่อประโยชน์ต่อสังคม
 4. สมานัตตา เป็นคนคุณภาพเสมอต้นปลาย อดีตและปัจจุบัน

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

อิทธิบาท 4 หลักธรรมอันเป็นหลักแห่งความสำเร็จ

อิทธิบาท 4 หลักธรรมอันเป็นหลักแห่งความสำเร็จ หรือทางแห่งความสำเร็จ 4 ประการ หลักธรรมอายุ 2 พันกว่าปีนี้ ไม่มีคราวใดที่จะเรียกว่าล้าสมัย


ฉันทะ : รักงาน (การเห็นคุณค่า ความรัก ความพอใจ)
สำรวจตนเองว่า มีความชอบหรือศรัทธางานด้านใด แล้วมุ่งไปในเส้นทางนั้น อาจเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการตั้งคำถามกับตัวเอง ฉันทำงานเพื่ออะไร ฉันมีความสุขหรือไม่หากงานที่ทำอยู่ไม่ใช่งานที่รักเสียทีเดียว เผื่อเราจะได้มีเวลาค้นหาและปรับเปลี่ยนตัวเอง หรือปรับศรัทธาของตัวเองให้เข้ากับงานที่ทำอยู่ งานแต่ละอย่างนั้น ไม่มีทางที่ใครจะชื่นชอบไปทั้งหมดทุกกระบวนการ ดังนั้น ถ้าคุณพอใจที่จะทำ และมีความสุขกับงาน เชื่อว่างานที่คุณทำอยู่ต้องออกมาดี



วิริยะ : สู้งาน (ความเพียร เห็นเป็นความท้าทาย ใจสู้ ขยัน)


งานทุกอย่างจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความขยันหมั่นเพียร ความวิริยะเป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่จะนำคุณไปสู่ความสำเร็จได้ ยิ่งคุณขยันเท่าไร ผลตอบแทนที่คุณจะได้รับมันก็มีมากเท่านั้น ที่สำคัญความวิริยะจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความรักในงานจากฉันทะนั่นเอง ความวิริยะไม่ใช่การทำงานแบบเอาเป็นเอาตาย แต่เป็นการหมั่นฝึกฝนตนเอง


มีข้อน่าสังเกตสำหรับคนทำงานร่วมกันคือ จะต้องขยันด้วยกันทั้งหัวหน้าและลูกน้อง ยิ่งผู้เป็นหัวหน้ายิ่งสำคัญมาก ถ้าเป็นคนเกียจคร้าน คิดกินแรงอย่างเดียว ลูกน้องก็มักขยันไปได้ไม่กี่น้ำ เดี๋ยวก็รามือกันหมด แต่ถ้าหัวหน้าเอาการเอางาน ก็จะสามารถดึงลูกน้องให้ขยันขันแข็งขึ้น




จิตตะ : ใส่ใจงาน (ความคิด อุทิศตัวต่องาน ใจจดจ่อ จริงจัง)


จิตใจที่จดจ่อกับงานล้วนเกิดผลดีต่องานที่ทำ จิตตะเป็นธรรมะที่แสดงถึงสติ ความรอบคอบและความรับผิดชอบที่จะตามมา ซึ่งในสังคมการทำงานปัจจุบันนี้ มุ่งเน้นแย่งชิงตำแหน่งกัน จนลืมคิดไปว่า งานที่ตนเองต้องรับผิดชอบนั้นคือ สิ่งใดกันแน่ จิตตะจึงมีความสำคัญในการทำงานโดยไม่วอกแวกออกไปนอกลู่นอกทาง ดังนั้น เมื่อคุณมีทั้งฉันทะและวิริยะแล้ว จิตตะจะเป็นเสมือนรั้วของเส้นทางที่ไม่ให้ไขว้เขวออกนอกทางสู่ความสำเร็จได้


ปกติคนที่โตเป็นผู้ใหญ่รู้ผิดชอบ มักจะใส่ใจกับงานอยู่แล้ว เพราะธรรมชาติจะทำให้หยุดคิดยาก แต่เสียอยู่อย่างเดียวคือ ชอบคิดเจ้ากี้เจ้าการแต่เรื่องงานของคนอื่น คอยติ คอยสอดแทรก คอยวิพากษ์วิจารณ์ ในขณะที่ธุระของตัวกลับไม่คิดไม่ดู ซึ่งไม่ส่งผลให้งานของเราดีขึ้น พระพุทธเจ้า จึงทรงสอนให้เป็นนักตรวจตรางาน คือ ให้มีจิตตะ แล้วก็ทรงให้โอวาทสำทับไว้ด้วยว่า "ควรตรวจตรางานของตัวเอง ทั้งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ"




วิมังสา : ทำงานด้วยปัญญา (ไตร่ตรอง พิสูจน์ ทดสอบ ตรวจตรา ปรับปรุงแก้ไข)


วิมังสา หมายถึง การพินิจพิเคราะห์ หมายความว่า ทำงานด้วยปัญญา ด้วยสมองคิด ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ คนเราแม้จะรักงานแค่ไหน บากบั่นเพียงใด หรือเอาใจจดจ่ออยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าขาดการใช้ปัญญาพิจารณางานด้วยแล้ว ผลที่สุดงานก็คั่งค้างและผิดพลาดจนได้