วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระคุณพ่อ


คุณอะไรไหนเล่าจะเท่าพ่อ  
 เป็นผู้ก่อกำเนิดเลิศคุณค่า
พระคุณท่านเหนือสิ่งใดในโลกา
สุดพรรณาหรือจะเทียบเปรียบสิ่งใด
พ่อ.....เลี้ยงลูกทุกคนให้เป็นสุข
พ่อ.....หวังปลูกอนาคตให้สดใส
พ่อ.....จะยากลำบากสักแค่ใด
พ่อ....หวังให้ลูกได้ดีเป็นศรีตน
ห่วง....ลูกเจ็บไข้ใครรักษา
ห่วง.....ลูกยาก่อนหลับคิดสับสน
หว่ง.....ลูกอดเวทนาเมื่อคราจน
ห่วง....ลูกตนยิ่งกว่าตัวของพ่อเอง
ลูก.....ยังว่ายไม่ถึงฝั่งพ่อยังทุกข์
ลูก.....ถึงฝั่งพ่อมีสุขชมลูกเก่ง
ลูก.....ได้ดีมีศรีแก่พ่อและตัวเอง
ลูก...พ่อเก่งพ่อมีสุขทุกคืนวัน

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

พรหมวิหารธรรม 4 (ธรรมทำให้มนุษย์เป็นเทวดา)

1. เมตตา มากด้วยรักและปรารถนาดีต่อสังคม
2. กรุณา  เมื่อเห็นคนอื่นทำดีก็อยากช่วยหนุนนำต่อเติมให้ผ่านด้วยดี
3. มุทิตา พลอยยินดีเมื่อคนดอื่นได้ดีมีความสุขโดยชอบ
4. อุเบกขา เมื่อตนเองหรือคนอื่นประสบเคราะห์กรรมก็หยั่งรู้ว่าเป็นผลของกรรมเราไม่โวยวายหรือไม่ทับถมซ้ำใคร


สังคหะวัตถุธรรม 4 ( ผู้ให้ย่อมชนะใจคน)
 1.ทาน การให้แบ่งปันสิ่งของการให้ธรรมเป็นการให้ (ชนะใจคนด้วยการให้)
 2. ปิยวาจา พูดดีคือ การพูดความจริงเพื่อประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน
 3. อัตถจริยา  ทำตนเพื่อประโยชน์ต่อสังคม
 4. สมานัตตา เป็นคนคุณภาพเสมอต้นปลาย อดีตและปัจจุบัน

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

อิทธิบาท 4 หลักธรรมอันเป็นหลักแห่งความสำเร็จ

อิทธิบาท 4 หลักธรรมอันเป็นหลักแห่งความสำเร็จ หรือทางแห่งความสำเร็จ 4 ประการ หลักธรรมอายุ 2 พันกว่าปีนี้ ไม่มีคราวใดที่จะเรียกว่าล้าสมัย


ฉันทะ : รักงาน (การเห็นคุณค่า ความรัก ความพอใจ)
สำรวจตนเองว่า มีความชอบหรือศรัทธางานด้านใด แล้วมุ่งไปในเส้นทางนั้น อาจเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการตั้งคำถามกับตัวเอง ฉันทำงานเพื่ออะไร ฉันมีความสุขหรือไม่หากงานที่ทำอยู่ไม่ใช่งานที่รักเสียทีเดียว เผื่อเราจะได้มีเวลาค้นหาและปรับเปลี่ยนตัวเอง หรือปรับศรัทธาของตัวเองให้เข้ากับงานที่ทำอยู่ งานแต่ละอย่างนั้น ไม่มีทางที่ใครจะชื่นชอบไปทั้งหมดทุกกระบวนการ ดังนั้น ถ้าคุณพอใจที่จะทำ และมีความสุขกับงาน เชื่อว่างานที่คุณทำอยู่ต้องออกมาดี



วิริยะ : สู้งาน (ความเพียร เห็นเป็นความท้าทาย ใจสู้ ขยัน)


งานทุกอย่างจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความขยันหมั่นเพียร ความวิริยะเป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่จะนำคุณไปสู่ความสำเร็จได้ ยิ่งคุณขยันเท่าไร ผลตอบแทนที่คุณจะได้รับมันก็มีมากเท่านั้น ที่สำคัญความวิริยะจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความรักในงานจากฉันทะนั่นเอง ความวิริยะไม่ใช่การทำงานแบบเอาเป็นเอาตาย แต่เป็นการหมั่นฝึกฝนตนเอง


มีข้อน่าสังเกตสำหรับคนทำงานร่วมกันคือ จะต้องขยันด้วยกันทั้งหัวหน้าและลูกน้อง ยิ่งผู้เป็นหัวหน้ายิ่งสำคัญมาก ถ้าเป็นคนเกียจคร้าน คิดกินแรงอย่างเดียว ลูกน้องก็มักขยันไปได้ไม่กี่น้ำ เดี๋ยวก็รามือกันหมด แต่ถ้าหัวหน้าเอาการเอางาน ก็จะสามารถดึงลูกน้องให้ขยันขันแข็งขึ้น




จิตตะ : ใส่ใจงาน (ความคิด อุทิศตัวต่องาน ใจจดจ่อ จริงจัง)


จิตใจที่จดจ่อกับงานล้วนเกิดผลดีต่องานที่ทำ จิตตะเป็นธรรมะที่แสดงถึงสติ ความรอบคอบและความรับผิดชอบที่จะตามมา ซึ่งในสังคมการทำงานปัจจุบันนี้ มุ่งเน้นแย่งชิงตำแหน่งกัน จนลืมคิดไปว่า งานที่ตนเองต้องรับผิดชอบนั้นคือ สิ่งใดกันแน่ จิตตะจึงมีความสำคัญในการทำงานโดยไม่วอกแวกออกไปนอกลู่นอกทาง ดังนั้น เมื่อคุณมีทั้งฉันทะและวิริยะแล้ว จิตตะจะเป็นเสมือนรั้วของเส้นทางที่ไม่ให้ไขว้เขวออกนอกทางสู่ความสำเร็จได้


ปกติคนที่โตเป็นผู้ใหญ่รู้ผิดชอบ มักจะใส่ใจกับงานอยู่แล้ว เพราะธรรมชาติจะทำให้หยุดคิดยาก แต่เสียอยู่อย่างเดียวคือ ชอบคิดเจ้ากี้เจ้าการแต่เรื่องงานของคนอื่น คอยติ คอยสอดแทรก คอยวิพากษ์วิจารณ์ ในขณะที่ธุระของตัวกลับไม่คิดไม่ดู ซึ่งไม่ส่งผลให้งานของเราดีขึ้น พระพุทธเจ้า จึงทรงสอนให้เป็นนักตรวจตรางาน คือ ให้มีจิตตะ แล้วก็ทรงให้โอวาทสำทับไว้ด้วยว่า "ควรตรวจตรางานของตัวเอง ทั้งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ"




วิมังสา : ทำงานด้วยปัญญา (ไตร่ตรอง พิสูจน์ ทดสอบ ตรวจตรา ปรับปรุงแก้ไข)


วิมังสา หมายถึง การพินิจพิเคราะห์ หมายความว่า ทำงานด้วยปัญญา ด้วยสมองคิด ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ คนเราแม้จะรักงานแค่ไหน บากบั่นเพียงใด หรือเอาใจจดจ่ออยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าขาดการใช้ปัญญาพิจารณางานด้วยแล้ว ผลที่สุดงานก็คั่งค้างและผิดพลาดจนได้